02-301-2223 sale@pp.premier.co.th
PREMIER PRODUCTS PUBLIC COMPANY LIMITED
16/06/2022

ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหาร

ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหาร

6 เทคนิคเลือกระบบปรับคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหาร

เราต่างทราบกันดีว่าน้ำ คือ ต้นกำเนิดและมีความสำคัญต่อทุกชีวิตบนโลก โดยเฉพาะมนุษย์เราที่ต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิต และยังต้องใช้น้ำในชีวิตประจำวัน ดังนั้นน้ำจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม น้ำที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันนั้นจะต้องเป็นน้ำสะอาด มีความปลอดภัย ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้เรานำระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ มาช่วยให้น้ำที่เราจะนำไปใช้ มีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน สะอาด และปลอดภัย โดยเฉพาะน้ำที่จะนำมาใช้บริโภคและ บริโภค ดื่ม กิน รวมถึงน้ำใช้ เพื่อการทำความสะอาด ชำระล้าง และอุตสาหกรรมการผลิตอาหารต่างๆ

 

นอกจากการนำระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ มาปรับปรุงคุณภาพดื่ม น้ำใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ในโลกปัจจุบันที่เราต้องพึ่งพา ระบบอุตสาหกรรมการผลิต เพราะไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมประเภทใดต่างต้องใช้น้ำในระบบการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งต้องใช้ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหารด้วย ขณะเดียวกันการนำระบบบำบัดน้ำเสียเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียที่เกิดจากขั้นตอนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมก่อนจะปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็มีความสำคัญและจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่ทุกคุฯให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูธรรมชาติ ซึ่งกระแสของการรักษาสิ่งแวดล้อมนี้ทำให้ หลายๆบริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจแบบเพื่อความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น

 

ทั้งนี้ ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ของแต่ละอุตสาหกรรม หรือแต่ละสถานประกอบการมีความต้องการใช้งานระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นในการเลือกใช้ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม ธุรกิจ หรือสถานประกอบการของตนเอง โดยสิ่งสำคัญในการเลือกระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ที่ต้องคำนึง คือ การเลือกกระบวนการในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆดังนั้น

  • คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำดิบ เพราะการเลือกแหล่งน้ำดิบนั้น นอกปริมาณของน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการใช้แล้ว การคุณภาพของน้ำก็มีความสำคัญ เพราะคุณภาพน้ำเป็นปัจจัยที่จะกำหนดระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำว่าจะต้องใช้กระบวนการอะไรบ้าง และมีจำนวนมากน้อยเพียงใด
  • คุณภาพน้ำที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมหรือ ธุรกิจ เพราะ ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยทั่วไป จะต้องการน้ำที่มีความสะอาด ปลอดภัย และมีลักษณะน่าใช้ โดยเฉพาะหากเป็นน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ซึ่งต้องมีคุณภาพน้ำตามมาตรฐานน้ำดื่ม
  • ความน่าเชื่อถือและความยืดหยุ่นของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เลือกใช้
  • ความต้องการพื้นที่ในการก่อสร้างระบบความต้องการทักษะและประสบการณ์ของผู้ควบคุม
  • เม็ดเงินลงทุนในการก่อสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ค่าบำรุงรักษา และค่าเดินระบบ

 

นอกจากนี้ แหล่งน้ำดิบตามธรรมชาติที่จะนำไปใช้ก็มีความสำคัญ โดยแหล่งน้ำที่จะนำมาปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคมีอยู่ 2 แหล่งคือ แหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน ดังนั้น ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแต่ละแหล่งจึงมีความเฉพาะเนื่องจากลักษณะคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำดิบมีความต่างกัน ทั้งนี้ ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ได้รับความนิยม แบ่งตามประเภทแหล่งน้ำดิบได้เป็น ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำผิวดิน และระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน

 

ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำผิวดิน

แหล่งน้ำผิวดินที่นิยมนำไปปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้อุปโภคบริโภคและใช้อุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ และอ่างเก็บน้ำ เนื่องจากมีปริมาณน้ำค่อนข้างสูง เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ ลักษณะคุณภาพของน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินโดยทั่วไปจะมีคุณภาพทางกายภาพไม่ดีนัก เพราะส่วนใหญ่จะมีความขุ่น มีรส กลิ่น สีไม่ค่อยดี เพราะมีทั้งสารอินทรีย์ อนินทรีย์เจือปน และแบคทีเรียปนเปื้อน สำหรับระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินโดยทั่วไป (Conventional Surface Water Treatment Plant) ซึ่งเป็นระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ดังนี้ 1.การใช้ตะแกรง (Screening) 2.การสร้างตะกอน (Coagulation) หรือการผสมเร็ว (Rapid Mix) 3.การรวมตะกอน (Flocculation) หรือการผสมช้า (Slow Mix) 4.การตกตะกอน (Sedimentation) 5.การกรอง (Filtration) 6.การฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) อย่างไรก็ตามในบางกรณีคุณภาพน้ำดิบอาจมีมีสี กลิ่น และรส ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มกระบวนการดูดซับ(Adsorption) โดยใช้ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) ชนิดผง เติมก่อนการตกตะกอนหรือการกรอง

 

สอบถามข้อมูล

 

ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน

แหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล คือ การทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น ด้วยการนำน้ำดิบที่ได้จากใต้ดินมาผ่านระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ด้วยการลดหรือกำจัด สารแขวนลอย ตะกอนต่างๆ เหล็ก ความกระด้าง ฟลูออไรด์ ความเค็ม ไนเทรต ฯลฯ โดยวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินสามารถทำได้หลายวิธี ประกอบด้วย

  • การต้ม ซึ่งเป็นวิธีการลดความกระด้างชั่วคราวของน้ำและฆ่าเชื้อโรคได้ดี
  • การเติมสารเคมี โดยสารเคมีที่นิยมใช้ คือ คลอรีน ด่างทับทิม เพื่อฆ่าเชื้อโรค และเป็นตัวเร่งให้สนิมเหล็กตกตะกอนได้เร็วยิ่งขึ้น แต่การเติมสารเคมีต้องเติมให้มากพอ และต้องใช้เวลาในการตกตะกอนเพื่อให้เหล็กตกตะกอนสมบูรณ์ และกรองตะกอนออก
  • การออสโมซิสย้อนกลับ (RO) โดยวิธีนี้จะอาศัยหลักการใช้แรงดันอัดน้ำที่มีเกลือแร่สูงให้ซึมผ่านเยื่อเมมเบรนชนิดพิเศษ สามารถกำจัดปริมาณเกลือแร่ที่ละลายอยู่ในน้ำ ได้มากกว่า 95% เหมาะที่จะใช้ในการกำจัดความกระด้าง ความกร่อยเค็ม ฟลูออไรด์ ไนเทรต โลหะหนัก และเชื้อแบคทีเรีย
  • การเติมอากาศ ซึ่งเป็นวิธีการเร่งให้สนิมเหล็กตกตะกอน โดยปล่อยน้ำลักษณะเป็นฝอย เพื่อให้สัมผัสอากาศนานที่สุด ปล่อยให้ไหลผ่านชั้นตะแกรงที่มีถ่านโค้กบรรจุอยู่ เหล็กจะตกตะกอน แล้วกรองด้วยเครื่องกรองสนิมเหล็กที่บรรจุด้วยชั้นกรวดทราย เรียกว่า การกรองแบบกรองช้า วิธีนี้เหมาะสำหรับน้ำบาดาลที่มีปริมาณเหล็กสูง
  • การกรองแบบใช้แรงดัน เหมาะกับน้ำบาดาลที่มีสนิมเหล็กไม่สูงมากนัก

 

นอกจากการปรับปรุงคุณภาพน้ำใช้ น้ำดื่ม และใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว การปรับปรุงคุณภาพน้ำ ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากแหล่งน้ำในธรรมชาตินอกจากจะเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำดิบที่จะน้ำมาปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชนรวมถึงการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

โดยในปัจจุบันระบบบำบัดน้ำเสียอยู่ 6 ระบบ คือ

  • ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ระบบนี้มีข้อดี คือ มีค่าใช้จ่ายต่ำมาก ข้อเสียคือ ต้องใช้พื้นที่มาก
  • ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon) ระบบนี้ มีข้อดีคือค่าใช้จ่ายต่ำ บำรุงรักษาง่าย ข้อเสียคือต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องเติมอากาศค่อนข้างสูง
  • ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland)ระบบนี้ เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยม มีข้อดีคือใช้เงินลงทุนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
  • ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process)ระบบนี้มีข้อดีคือใช้พื้นที่น้อย ข้อเสียคือต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ จำนวนมาก
  • ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch)ระบบนี้มีข้อดี คือ เป็นรูปแบบที่เหมาะกับชุมชน ข้อเสียคือมีขนาดเล็ก
  • ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor) ระบบนี้ เป็นระบบที่เหมาะสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรม ข้อดีคือดูแลรักษาง่าย ข้อเสียคือค่าอุปกรณ์ต่างๆค่อนข้างสูง

 

ระบบบำบัดน้ำเสีย คือ ระบบกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดจากกิจวัตรประจำวันของประชาชน ให้หมดไปหรือมีปริมาณปนเปื้อนลดลง จนมีค่ามาตรฐานคุณภาพตามมาตามาตรฐานน้ำทิ้ง น้ำเสีย ทั้งนี้นำเสียแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 1.น้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์ ซึ่งเกิดจากน้ำกินน้ำใช้ 2. น้ำเสียประเภทที่มีสารเคมี 3. น้ำเสียในรูปสารแขวนลอย 4.น้ำเสียที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก 5.น้ำเสียจากสารเคมีต่างๆ

 

ทั้งนี้ ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสีย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่จะช่วยให้ลดต้นทุนการใช้น้ำให้กับโรงงานอุตสาหกรรม เพราะส่วนใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องซื้อน้ำดิบจากทางนิคมอุตสาหกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิต

2. ระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้ได้มาตรฐาน
ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชนเพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยมีกรรมวิธีการบำบัดน้ำเสีย 3 ประเภท แบ่งตามระดับความเสียของน้ำ คือ

  1. การบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียพื้นฐานที่ใช้ในการบำบัดขั้นต้น สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนขนาดใหญ่
  2. การบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ เป็นกรรมวิธีบำบัดน้ำเสียซึ่งใช้หลักการทางชีวภาพ โดยการก่อสร้างระบบสำหรับเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อย่อยสลายสารมลพิษในน้ำเสีย ซึ่งกรรมวิธีนี้เหมาะสำหรับการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม
  3. การกำจัดตะกอน เป็นกรรมวิธีบำบัดตะกอนที่เกิดขึ้นจากการบำบัดน้ำเสีย ทั้งจากกระบวนการบำบัดทางกายภาพ และกระบวนการบำบัดทางชีวภาพ

 

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ (มหาชน) จำกัด เพื่อตอบรับ การขยายตัวของภาคธุรกิจ และการลงทุนในประเทศ ทำให้บริษัทฯสามารถพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน ได้ในระดับสากล และเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ได้อย่างมั่นคง ผู้ให้บริการด้านระบบสำรองน้ำครบวงจร และจำหน่าย ออกแบบ และติดตั้ง ระบบบำบัดน้ำเสีย  ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ถังเก็บน้ำ ถังไฟเบอร์กลาส ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ หลากหลายรูปแบบ ที่ตรงกับความต้องการของคุณ

 

สอบถามข้อมูลหรือดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ : 
บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน)
โทร : 02-301-2223
E-Mail : sale@pp.premier.co.th
Line : @pp.wtprofessional
Website : https://www.premier-products.co.th/products/waste-water-treatment-tank/