02-301-2223 sale@pp.premier.co.th
PREMIER PRODUCTS PUBLIC COMPANY LIMITED
10/12/2021

ระบบบำบัดน้ำเสียกับกฎหมายที่ต้องรู้

ระบบบำบัดน้ำเสียกับกฎหมายที่ต้องรู้

มาตรฐานควบคุมการระบบบำบัดน้ำเสียมีกี่แบบ

คุณรู้หรือไม่ว่า คุณเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โลกของเราผลิตน้ำเสีย เพราะพฤติกรรมการใช้น้ำของแต่ละบุคคล ส่งผลเสียให้กับโลกของเราอย่างแน่นอน ถ้าเราไม่รู้จักนวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสีย ตอนนี้ลักษณะน้ำกินดื่มของคุณจะมีลักษณะเป็นแบบไหน?

 

คำนิยาม น้ำทิ้ง และ ระบบบำบัดน้ำเสีย ตามกฎกระทรวง

น้ำทิ้ง คือ น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม

 

ระบบบำบัดน้ำเสีย คืออะไร

ระบบบำบัดน้ำเสีย (Wastewater Treatment Plant) การกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม หรือเกิดจากกิจวัตรประจำวันของประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนหรือแหล่งที่อยู่อาศัยต่างๆ ให้หมดไป หรือมีปริมาณสิ่งปนเปื้อนในน้ำลดลงจนมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่างๆ อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม อาคารที่พักอาศัยต่างๆ และพื้นที่เกษตรกรรม จะมีปริมาณสารเคมีหรือสารละลายเข้มข้นผสมอยู่ในปริมาณ ที่แตกต่างกัน

 

ทั้งนี้ สามารถแบ่งประเภทน้ำเสียตามสารหลักที่ให้ลักษณะเด่นของน้ำเสียเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. น้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์

ซึ่งเกิดจากน้ำกินน้ำใช้ โดยจะพิจารณาจากค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) ซึ่งค่า BOD หมายถึง ค่าวัดความเน่าเสียจากน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคที่ถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือจากเศษใบไม้ ค่า BOD จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ กล่าวคือ ถ้าน้ำเสียมีค่า BOD ต่ำ เมื่อถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำจะไม่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำดังกล่าว เนื่องจากแบคทีเรียต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายน้อย แต่ถ้าน้ำเสีย มีค่า BOD สูง เมื่อถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำลดลงมากจนทำให้ปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแหล่งน้ำนั้นไม่สามารถอยู่ได้

2. น้ำเสียประเภทที่มีสารเคมี

ซึ่งหมายถึง ค่าวัดความเน่าเสียของ น้ำเสียที่เกิดจากสารเคมี โดยค่า COD จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการออกซิไดซ์เพื่อให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ

3. น้ำเสียในรูปสารแขวนลอย

คือ ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ และสามารถไหลผ่านกระดาษกรองใยแก้ว เมื่อกรองปริมาณสารแขวนลอยออก จึงเอาน้ำใสที่ผ่านกระดาษกรองใยแก้วไประเหย จะทำให้สามารถหาปริมาณสารละลายได้

4. น้ำเสียที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก

 

5. น้ำเสียจากสารเคมีอื่นๆ

การให้บริการเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียจึงขึ้นกับลักษณะน้ำเสียและระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ ซึ่งประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียที่บริษัทให้บริการแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Wastewater Recycle Plant)
  • ระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้ได้มาตรฐาน (Wastewater Treatment Plant) ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชนเพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณสมบัติ เพียงพอที่จะปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

 

แหล่งที่มาของน้ำเสียแบ่งได้ 2 แบบคือ

1.แหล่งน้ำเสียจากชุมชน

ปริมาณน้ำเสียจากแหล่งชุมชนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีปริมาณสารอินทรีย์ปะปนอยู่ในแหล่งน้ำซึ่งสามารถวัดค่า BOD ได้ประมาณ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับกรรมวิธีในการบำบัดน้ำเสียจะใช้วิธีการทางชีวภาพ คือ การนำแบคทีเรียมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย

2.แหล่งน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นน้ำเสียที่มีสิ่งสกปรกและสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากกว่าน้ำเสียจากแหล่งชุมชน ทั้งนี้ สิ่งสกปรกและสารปนเปื้อนดังกล่าว จะแตกต่างกันไปตามประเภทธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งการบำบัดด้วยกรรมวิธีทางชีวภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เนื่องจากสารเคมีและสารละลายไม่สามารถกำจัดให้หมดไปด้วยกรรมวิธีดังกล่าวได้ ดังนั้น ระบบการบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมจึงต้องอาศัยวิธีการทางเคมีที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

 

สอบถามข้อมูล

 

ทำไมต้องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง และมีเกณฑ์ข้อกฎหมายกำหนดอย่างไรบ้าง

หลักการที่ใช้ในการกำหนดมาตรฐานดังกล่าว คือ หลักการควบคุมและสั่งการ (Command and Control) กล่าวคือ ให้มีการควบคุมการระบายน้ำทิ้ง รวมทั้งควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษบาง ประเภท ซึ่งเป็นแหล่งที่มาอันสำคัญของปัญหามลพิษทางน้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการประกาศมาตรฐานเหล่านี้จะเป็นการสั่งการให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิด มลพิษ ที่ถูกประกาศกำหนดขนาดและประเภท มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีระบบหรือ อุปกรณ์บำบัดน้ำเสียของตนเอง และจะต้องทำการบำบัดน้ำเสียให้ได้มาดรฐานการระบายน้ำทิ้ง ตามที่ได้กำหนดไว้ด้วย

การกำหนดมาตรฐานประเภทนี้ มักจะกำหนโดยใช้ขีดความสามารถของแหล่งกำเนิด มลพิษ เช่น การคำนึงถึงความสามารถของผู้ประกอบการที่จะใช้เทคโนโลยีที่ดี เหมาะสมและหาได้ (Best Available Control Technology! แต่มักจะมีปัญหาในด้านของคำใช้จ่ายสำหรับ ผู้ประกอบการซึ่งมีความไม่เท่าเทียมกันในหลายๆ ด้าน รวมทั้งยังต้องคำนึงด้วยว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้จะต้องสามารถนำมาใช้ได้จริง (Best Practicable Technology) นอกจากนี้ กรมควบคุมมลพิษพิษก็กำลังเริ่มต้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดมาตรฐานประเภทนี้กับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เนื่องจากว่า การจะกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งให้เข้มงวดมากน้อยเพียงใด ควรจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการรองรับมลพิษของแหล่งน้ำนั้นด้วย

 

มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งมีที่แบบ อะไรบ้าง?

มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งถูกกำหนดไว้ 3 แบบ คือ

  1. มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร เพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ และให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้เป็นมาตรฐานในการป้องกันและแก้ไขปัญหามดพิษทางน้ำ
  2. มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุดสาหกรรมเพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุดสาหกรรม และให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้เป็นมาตรฐานในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ
  3. มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร เพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร และให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้เป็นมาตรฐานในการป้องกันและแก้ไขปัญหามดพิษทางน้ำ

 

แหล่งกำเนิดมลพิษ ที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งตามกฎหมาย?

ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องที่เกี่ยวกับการกำหนดประเภทของอาคาร โรงงานอุดสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ที่ดินจัดสรร เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้สิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกควบคุม

  1. อาคารชุดตามเกณฑ์หมายว่าด้วยอาคารชุด
  2. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  3. หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
  4. สถานบริการประเภทสถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัว ซึ่งมีผู้ให้บริการแก่ลูกค้า ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
  5. โรงพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
  6. อาคารโรงเรียนราษฎร์ดามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์และโรงเรียนของทางราชการและอาคารสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ
  7. อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การระทว่างประเทศ และของเอกชน
  8. อาคารของศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า
  9. ตลาดตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
  10. ภัตตาคารหรือร้านอาหาร
  11. โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
  12. โครงการที่ดินจัดสรร

 

บทลงโทษของผู้กระทำความผิด (อ้างอิงข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ)

  • มาตรา ๑๐๔ เจ้าของหรือครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา ๑๐๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียผู้ใดไม่จัดเก็บสถิติ ข้อมูล หรือไม่ทำบันทึกหรือรายงานตามมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา ๑๐๗ ผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการผู้ใดทำบันทึกหรือรายงานใดที่ตนมีหน้าที่ต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เป็นความรู้และข้อกฎหมายเบื้องต้นจากกรมควบคุมมลพิษ ที่คุณจะได้รู้รายละเอียดก่อนใครและรู้ถึงประโยชน์และโทษจากการใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย หรือลักลอบปล่อยน้ำทิ้ง เพราะจะได้มีแหล่งน้ำที่ดีและอุดมสมบูรณ์ไว้ เป็นตัวอย่างหรือใช้ในยามจำเป็น หากคุณกำลังมองหาถังบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียที่มีคุณภาพ ใช้งานทนทานสามารถขอคำปรึกษาหรือใบเสนอราคาได้ที่นี่ เรามีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำไม่ว่าจะนำไปใช้งานในสถานที่ใด ถังบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานและโรงพยาบาล ปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียโรงาน ระบบรีไซเคิลน้ำนำกลับมาใช้ใหม่ เรามีบริการที่มีมาตรฐานและครบวงจรเพื่อทุกการใช้งานของคุณ

 

สอบถามข้อมูลหรือดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ : 
บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน)
โทร : 02-301-2223
E-Mail : sale@pp.premier.co.th
Line : @pp.wtprofessional
Website : https://www.premier-products.co.th/products/water-tank/