02-301-2223 sale@pp.premier.co.th
PREMIER PRODUCTS PUBLIC COMPANY LIMITED
22/06/2021

ฆ่าเชื้อโควิดในน้ำทิ้งอย่างไร? ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้จริงไหม?

ฆ่าเชื้อโควิดในน้ำทิ้งอย่างไร? ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้จริงไหม?

 

ฆ่าเชื้อโดวิดและโรคระบาดในน้ำตั้งแต่ต้นระบบบำบัดน้ำเสีย

ในสถานการณ์ที่กำลังมีโรคระบาด การดูแลน้ำทิ้งให้ไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โรงพยาบาล โรงงานต่าง ๆ จึงมีการใช้ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อเพื่อให้มั่นใจว่าน้ำทิ้งจะได้มาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าเชื้อ COVID-19 ซึ่งถือเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หลาย ๆ ท่านจึงเกิดคำถามในใจว่า ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อโควิดได้จริงไหม? มีวิธีการอย่างไรในการฆ่าเชื้อโควิด-19 ในน้ำทิ้ง? มีสิ่งใดบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการใช้ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID? บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจให้ทุกท่านได้อ่านกัน

 

จริง ๆ แล้ว มีสารพัดวิธีฆ่าเชื้อโควิด

จากการเกิดขึ้นของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงทำให้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีการฆ่าเชื้อโควิดหลากหลายวิธี แล้วแต่สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ส่วนมากจะมีการใช้สารฆ่าเชื้อ (Disinfectant) ในระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ ซึ่งสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลายชนิด ไม่ได้เจาะจงเฉพาะการฆ่าเชื้อ COVID-19 แต่เนื่องจากมีความรุนแรงค่อนข้างมาก จึงทำให้ไม่สามารถใช้กับผิวหนังของสิ่งมีชีวิตโดยตรงได้ แต่ต้องใช้กับพื้นผิวของสิ่งของต่าง ๆ หรือหากมีการเจือจาง สารฆ่าเชื้อบางชนิดก็อาจใช้กับผิวหนังของสิ่งมีชีวิตได้

นอกจากนี้ยังมีสารอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า สารระงับเชื้อ (Antiseptic) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยสามารถใช้กับผิวหนังหรือเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตได้ แต่สารระงับเชื้อส่วนมากมักจะใช้เป็นส่วนประกอบในสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น ไม่ได้นำมาใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID

 

วิธีการฆ่าเชื้อที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้

 

สารฟีนอลและอนุพันธ์ (Phenols and derivatives)

สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้ดี ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ไว แต่อาจระคายเคืองผิวหนังและเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปจะใช้ในการฆ่าเชื้อบนอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ปัจจุบันมีการคิดค้นอนุพันธ์ฟีนอลชนิดที่ไม่ระคายเคืองผิวออกมาด้วย และใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำยาฆ่าเชื้อในครัวเรือน แต่ไม่นิยมนำมาใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อโควิดสำหรับโรงพยาบาล และโรงงานต่าง ๆ

 

สารประกอบไอโอดีน (Iodine)

มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อได้ดี แต่มีข้อเสียคือ มีสีเปรอะเปื้อนและอาจทำให้แสบผิวได้ จึงได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้น ให้สามารถใช้กับผิวหนังและล้างออกได้ง่ายขึ้น แต่ก็ทำให้ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรุนแรงน้อยลง และไม่สามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้

 

สารประกอบคลอรีน (Chlorine)

มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสูงและรวดเร็ว แต่ก็มีข้อเสียคือมีฤทธิ์กัดกร่อน โดยคลอรีนจะไปทำปฏิกิริยาทางเคมี ออกฤทธิ์ทำลายเอนไซม์ และผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ ทำให้หยุดการเจริญเติบโต และตายอย่างรวดเร็ว คลอรีนถือว่าเป็นสารฆ่าเชื้อที่มีปลอดภัยสูง เพราะสามารถสลายตัวได้อย่างรวดเร็วในธรรมชาติ ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อโควิด-19 ส่วนมากจะใช้คลอรีนเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนปล่อยน้ำลงสู่แหล่งรับน้ำทิ้ง

 

แอลกอฮอล์ (Alcohols)

มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้ดี ทั้งแบคทีเรีย รา และไวรัส ระเหยได้ง่าย นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั้งในครัวเรือน โรงพยาบาล และโรงงานต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะใช้ฆ่าเชื้อได้ดี และมีความปลอดภัย แต่เนื่องจากมีต้นทุนสูง จึงไม่คุ้มค่าหากจะนำมาใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID-19

 

โอโซน

สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสได้ดี สลายตัวได้รวดเร็ว เนื่องจากมักอยู่ในรูปของก๊าซ จึงนิยมใช้ในการพ่นหรืออบในพื้นที่ปิดเพื่อฆ่าเชื้อโรค แต่ก็สามารถใช้ในรูปของเหลวได้เช่นกัน สามารถใช้โอโซนฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ด้วย ในระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อบางรุ่นจึงออกแบบมาให้มีการฆ่าเชื้อด้วยโอโซนด้วย

 

ความร้อน

หากจะฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 ให้ตายได้แบบ 100% ต้องใช้ความร้อนในระดับที่เกือบถึงจุดเดือดของน้ำ ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อชนิดที่ปล่อยให้น้ำตากแดดแบบธรรมชาตินั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้อโควิดให้ตายได้ เพราะความร้อนไม่เพียงพอ แต่หากจะใช้เครื่องทำความร้อนเพื่อทำให้น้ำมีอุณหภูมิในระดับนั้น ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองจนเกินไป ดังนั้นในระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อโควิด-19 จึงไม่นิยมใช้วิธีนี้

 

ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้จริงไหม?

จริง ๆ แล้ว ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโควิด-19 ของระบบบำบัดน้ำเสียนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบและการนำไปประยุกต์ใช้ ในปัจจุบันมีรูปแบบของระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อโควิดมากมายหลายแบบ จะขอยกตัวอย่างระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพยาบาลสนามที่ทางเราได้ออกแบบไว้ให้ทุกท่านได้ดูเป็นกรณีศึกษา จะได้มองเห็นภาพรวม และสามารถตอบคำถามได้ว่า ตกลงแล้วระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID ได้จริงหรือไม่

เนื่องจากโรงพยาบาลสนาม (Field Hospital) เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในแบบเร่งด่วน แต่การสร้างโรงพยาบาลสนามต้องมาพร้อมกับการจัดการน้ำทิ้งที่ดี มิฉะนั้นแล้วอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ในน้ำทิ้งได้ ดังนั้นระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพยาบาลสนามจึงต้องมีการออกแบบที่รัดกุม และมีการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสม

ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID-19 สำหรับโรงพยาบาลสนามที่ทางเราออกแบบนั้น มีการคิดคำนวณโดยทีมวิศวกรในเรื่องลักษณะการใช้งาน จำนวนเตียง และปริมาณน้ำเสียที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สรุปออกมาเป็นระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อในรูปแบบ 4 ส่วนได้แก่

 

1. ถังเกรอะ (Septic Tank)

ทำหน้าที่รับน้ำจากห้องน้ำ และช่วยแยกกากตะกอนออกจากน้ำทิ้ง (Solid Separation) เพื่อไม่ให้ถังปั๊มสูบส่งน้ำที่ปนกากตะกอนหนักไปยังส่วนบำบัดถัดไป จนอาจทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อล้มเหลว และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้ โดยถังเกรอะจะใช้เป็นถังไฟเบอร์กลาสขึ้นรูปทรงตั้ง และเป็นถังชนิดฝังดินทั้งหมด เพื่อให้น้ำเสียในระดับพื้นดินไหลลงสู่ที่ถังเกรอะซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าได้

 

2. ถังปั๊มสูบ (Sump Tank)

ทำหน้าที่สูบน้ำเสียที่ผ่านการแยกกากตะกอนจากถังเกรอะเรียบร้อยแล้ว ส่งเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อโควิดถัดไปที่ตั้งอยู่บนพื้นดิน โดยถังปั๊มสูบจะใช้เป็นถังไฟเบอร์กลาสขึ้นรูปทรงตั้ง และเป็นถังชนิดฝังดินทั้งหมดเช่นเดียวกับถังเกรอะ

 

3. ระบบบำบัดน้ำเสีย Aerowheel

ทำหน้าที่กำจัดค่าความสกปรกในน้ำเสีย ให้มีค่า BOD ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียขั้นถัดไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในขั้นตอนนี้จะใช้ระบบจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contractor หรือ RBC) อันประกอบไปด้วยถังย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Tank) ถังปรับเสถียร (Equalization Tank) ถังจานหมุนชีวภาพ และถังเก็บตะกอน ถือเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้พลังงานต่ำมาก อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ระบบไฟเฟสเดียว (220 V) เท่านั้น ระบบนี้ใช้ถังไฟเบอร์กลาสขึ้นรูปทรงตั้ง ชนิดตั้งพื้น

 

4. ระบบฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน (Chlorine Disinfection)

ทำหน้าที่รับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว มาฆ่าเชื้อโรคในขั้นตอนสุดท้ายด้วยสารละลายคลอรีน 10% โดยต้องพิจารณาขนาดถังให้เหมาะสมด้วย เพื่อกักน้ำให้อยู่ในระบบนี้นานเพียงพอที่จะฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้ โดยระบบนี้ใช้เป็นถังไฟเบอร์กลาสขึ้นรูปทรงตั้ง ชนิดตั้งพื้น สามารถจ่ายสารละลายคลอรีนให้น้ำทิ้งมีความเข้มข้นของคลอรีนได้สูงถึง 10 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งถือว่าได้มาตรฐานน้ำทิ้ง สามารถมั่นใจได้ว่า น้ำที่ผ่านระบบฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนนี้จะไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน และไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID อย่างแน่นอน

 

ฆ่าเชื้อโควิดได้ ปล่อยน้ำทิ้งอย่างมั่นใจ

จากที่ได้ยกตัวอย่างเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID-19 สำหรับโรงพยาบาลสนามไป จะเห็นได้ว่า ด้วยระบบที่ผสานเข้าด้วยกันทั้งหมดนี้สามารถฆ่าเชื้อโควิดได้จริง แต่ละส่วนของระบบทำหน้าที่ในการบำบัดน้ำเสียของตัวเอง จนทำให้น้ำที่ปล่อยสู่แหล่งน้ำทิ้งได้มาตรฐานและปลอดเชื้อโรคปนเปื้อน

หากสนใจระบบบำบัดน้ำเสียฆ่าเชื้อ COVID-19 สามารถติดต่อเราได้โดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ นอกจากนี้เรายังมีบริการตรวจเช็คระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพยาบาล โรงงาน และหน่วยงานต่าง ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ลงทะเบียนได้ที่แบบฟอร์มด้านล่างนี้ ฟรี!

 

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน)
โทร : 02-301-2327
Line @pp.wtprofessional