02-301-2223 sale@pp.premier.co.th
PREMIER PRODUCTS PUBLIC COMPANY LIMITED
17/10/2023

ถังเก็บน้ำปลามีกี่ประเภทและเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ถังเก็บน้ำปลามีกี่ประเภทและเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

รู้จักประเภทของถังเก็บน้ำปลา และการเลือกใช้ให้เหมาะสม

นอกจากข้าวแล้ว น้ำปลายังเป็นสิ่งสำคัญในอาหารไทย และทำโดยการหมักปลาตัวเล็กด้วยเกลือปริมาณมากเป็นเวลาหนึ่งปี หลังจากนั้นจึงกลั่น บรรจุขวด และใช้เป็นเครื่องปรุงในอาหารไทยแทบทุกชนิด ด้วยกลิ่นที่หอมฉุนและรสชาติที่โดดเด่น เมื่อนำไปผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ เช่น น้ำตาล จะทำให้น้ำปลากลมกล่อมยิ่งขึ้น และมีความสามารถในการเพิ่มรสอูมามิได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องรู้คือน้ำปลานั้นมีขั้นตอนในการหมักที่ยาวนาน เพื่อให้ได้น้ำปลาคุณภาพดี ถังเก็บน้ำปลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ มารู้จักกันว่าถังเก็บน้ำปลานั้นมีกี่ประเภท และควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน

 

น้ำปลาทำมาจากอะไร ?

น้ำปลา ทำมาจากปลาหรือชิ้นส่วนของปลา ปลาที่นิยมนำมาผลิตน้ำปลามักเป็นปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาแอนโชวี่ ปลาไส้ตัน ปลากะตัก ปลาสร้อย เป็นต้น รวมถึงอาจใช้สัตว์น้ำอื่น ๆ มาผลิตเป็นน้ำปลาได้เช่นกัน เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก และเคย และนำมาหมักกับเกลือแกงหรือเกลือทะเลเป็นเวลาประมาณ 1 ปี โดยเก็บไว้ในถังหมักหรือถังเก็บน้ำปลา แล้วถึงนำไปบ่มต่อด้วยอุณหภูมิสูงประมาณ 1 เดือน และอาจนำไปผสมสารเติมแต่งต่าง ๆ เพื่อให้มีรสชาติมากขึ้น ก่อนจะบรรจุลงขวดเพื่อจำหน่ายต่อไป

 

ประเภทของถังเก็บน้ำปลา และการเลือกใช้ให้เหมาะสม

เพื่อให้ได้น้ำปลาคุณภาพดีออกมา การหมักไว้ในถังเก็บน้ำปลาจึงมีความสำคัญ เพราะน้ำปลาที่ได้จะมีคุณภาพแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับวิธีการหมัก นั่นคือถังหมักต้องสะอาด มีฝาปิด และควรทนต่อความเป็นกรดและความเค็มได้สูง ซึ่งหากเป็นการทำน้ำปลากินเอง ก็มักจะเลือกวัสดุที่หาได้ง่ายและสามารถทนต่อความเค็มของเกลือได้ดี เช่น แก้ว ไห เซรามิก แต่ถ้าหากเป็นในภาคอุตสาหกรรมนั้นจะต้องใช้ถังที่มีขนาดใหญ่ เพื่อเพียงพอต่อปริมาณของน้ำปลา และต้องมีมาตรฐานผ่านการรับรองว่าปลอดภัยต่อร่างกาย ไม่มีสารตะกั่วและสารปรอท วัสดุต้องเป็น Food Grade แข็งแรง ทนทาน ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดี สีของถังต้องไม่ซีดจาง ไม่หลุดร่อน ป้องกันตะไคร่น้ำได้ และต้องไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วย ซึ่งประเภทของถังเก็บน้ำปลาที่นิยมใช้กันนั้นก็มีหลายประเภทด้วยกัน แต่ละประเภทก็เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. ถังพลาสติก
    ถังพลาสติก PE และ PVC สามารถนำมาใช้เป็นถังเก็บน้ำปลาหรืออาหารหมักดองต่าง ๆ ได้ เพราะเป็นพลาสติกที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ด้วยโครงสร้างของ PE จะสามารถป้องกันความชื้นได้ดีพอสมควร และทนต่อกรดและด่างทั่ว ๆ ไปได้ดี มีราคาถูก ไม่เกิดสนิม แต่มีข้อเสียคือ หากเก็บน้ำปลาหรืออาหารหมักดองไว้ในถังพลาสติกเหล่านี้เป็นเวลานานเกินไป กลิ่นจะไม่หอม รวมถึงยังเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย โครงสร้างถังมีความแข็งแรงและทนทานได้น้อย จึงไม่เหมาะกับการใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ถังพลาสติกนิยมใช้เป็นถังบรรจุภัณฑ์ ถังใส่สารเคมี ถังหมักอาหารหมักดอง ถังเก็บน้ำปลา ถังใส่น้ำยางพารา หรือน้ำหมักชีวภาพ 
  2. ถังสแตนเลส
    ถังสแตนเลสเป็นถังที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะสามารถทำความสะอาดและพาสเจอร์ไรซ์ได้ โครงสร้างมีความแข็งแรง สะอาด ปลอดภัย และไม่เกิดตะไคร่น้ำ ป้องกันแสงส่องผ่าน 100% รวมถึงจะมีราคาสูงกว่าถังเก็บน้ำชนิดอื่น ๆ ในขนาดที่เท่ากัน เนื่องจากคุณสมบัติที่ดีกว่าและแข็งแรงกว่า ทั้งยังดูแลรักษาง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะสำหรับใช้เก็บน้ำดื่ม น้ำใช้ได้หลากหลายประเภท รวมถึงใช้เป็นถังเก็บน้ำปลาได้ และยังนิยมใช้สำหรับผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมไวน์ วิศวกรรมชีวภาพ ยา สารเคมี และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ข้อเสียของถังสแตนเลสเลยคือมีราคาแพง และหากมีการชำรุดเสียหาย จะซ่อมแซมให้เหมือนใหม่ได้ยากขึ้น นอกจากนี้การเลือกใช้ถังสแตนเลสเป็นถังเก็บน้ำปลา เมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่งจะทำให้เกิดสนิมบนรอยต่อระหว่างถังได้ง่ายขึ้น
  3. ถังไฟเบอร์กลาส
    ถังไฟเบอร์กลาสจะนิยมใช้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีความแข็งแรงเทียบเท่าเหล็กแต่มีขนาดเบากว่า โครงสร้างมีความแข็งแรงทนทาน และสามารถผลิตเป็นถังเก็บน้ำปลาขนาดใหญ่ได้สูงสุดถึง 100 ลบ.ม. นิยมใช้เก็บได้ทั้งน้ำประปา น้ำบาดาล น้ำเค็ม และสารเคมีต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นถังเก็บน้ำปลาได้ เพราะคุณสมบัติของไฟเบอร์กลาสนั้นทนต่อการกัดกร่อนของกรด-ด่างได้เป็นอย่างดี โครงสร้างถังมีความแข็งแรงสูง อายุการใช้งานยาวนาน และป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำได้ 100% เนื่องจากแสงไม่สามารถส่องผ่านได้ นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุ FCMs ที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย ปลอดสารเคมี ไร้เเบคทีเรีย และไม่ก่อให้เกิดสนิม แต่มีข้อเสียคือถังมีน้ำหนักมาก ทำให้การเคลื่อนย้ายไม่สะดวก และเนื่องจากถังมีขนาดใหญ่ ทำให้การล้างทำความสะอาดได้ยาก นอกจากนี้แล้วหากเลือกถังที่ทำจากไฟเบอร์กลาสที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจจะทำให้รับน้ำหนักและแรงกดทับได้ไม่ดีอีกด้วย

 

เลือกใช้ถังเก็บน้ำปลาประเภทไหนดี

การผลิตน้ำปลานั้นจะใช้ระยะเวลานานราว 12-18 เดือน เพื่อทำการหมักปลาหรือสัตว์อื่น ๆ กับเกลือ การหมักน้ำปลาให้ได้คุณภาพนั้นควรเลือกถังที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันแมลงหรือสิ่งแปลกปลอม รวมถึงสิ่งสกปรกภายนอกที่อาจเข้าไปเจือปนในถังหมักได้ นอกจากนี้แล้วความแข็งแรงทนทานของถังก็สำคัญ จะต้องทนต่อการกัดกร่อนและความเค็มสูงได้ดี รวมถึงต้องป้องกันแสงส่องผ่านได้ 100% เพื่อไม่ให้เกิดตะไคร่น้ำ เพราะแสงแดดอาจเป็นต้นเหตุของการเกิดตะไคร่ และส่งเสริมการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับใช้เป็นถังเก็บน้ำปลานั้นคือถังไฟเบอร์กลาส เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน และทนต่อการกัดกร่อนของกรด-ด่างได้เป็นอย่างดี ไม่เกิดตะไคร่น้ำ ไม่เป็นสนิม และมีความปลอดภัย ซึ่งจะดีกว่าถังพลาสติกเพราะพลาสติกมีความแข็งแรงต่ำ อาจเกิดการแตกร้าวได้ง่าย และหากใช้พลาสติกที่ไม่ได้มาตรฐาน Food Grade ก็เสี่ยงที่จะเกิดสารก่อมะเร็งให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย ในขณะที่แม้ว่าถังสแตนเลสจะแข็งแรงทนทาน และไม่เกิดตะไครน้ำเช่นกัน แต่ถ้าใช้ถังสแตนเลสเป็นถังเก็บน้ำปลาที่ต้องหมักเป็นเวลานานนับปีนั้น อาจเสี่ยงต่อการเกิดสนิมบนรอยต่อระหว่างถังได้นั่นเอง

 

หากคุณกำลังมองหาถังเก็บน้ำปลาที่ได้ประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด เราขอแนะนำถังไฟเบอร์กลาสที่มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ช่วยให้ผลิตน้ำปลาออกมาอย่างมีคุณภาพสูงสุด บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) สามารถช่วยคุณออกแบบถังจากไฟเบอร์กลาสได้ตามความต้องการ เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของพื้นที่และการใช้งานมากที่สุด รวมถึงพื้นที่ที่มีจำกัด ถังเก็บน้ำปลาที่ผลิตโดยพรีเมียร์โพรดักส์ ได้ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยทุกถัง เพื่อให้คุณมั่นใจได้ในคุณภาพที่จะได้รับจากเรา สนใจสั่งผลิตถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส ถังเก็บน้ำปลา หรือถังเก็บสารเคมีต่าง ๆ สามารถติดต่อได้เลยที่

 

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน)
โทร : 02-301-2257
E-Mail : sale@pp.premier.co.th
Line : @pp.wtprofessional
Website : https://www.premier-products.co.th