02-301-2223 sale@pp.premier.co.th
PREMIER PRODUCTS PUBLIC COMPANY LIMITED
28/01/2022

ระบบบำบัดน้ำเสีย (Water Recycling) คืออะไร?

รู้จักกระบวนการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียทางเลือกที่จะช่วยบรรเทาและคลี่คลายปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสีย

การดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน นอกจากปัจจัยสี่ที่เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีพแล้วนั้น ทรัพยากรธรรมชาติก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่จำเป็นในการขับเคลื่อนสังคมและโลกเช่นกัน ซึ่งความต้องการใช้งานทรัพยากรธรรมชาติที่มากขึ้น และทำให้บางสิ่งบางอย่างเริ่มขาดแคลน ตลอดจนการเติบโตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ด้าน

แม้ว่า น้ำ จะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีปริมาณมากมายมหาศาลบนโลกใบนี้ แต่ทุกครั้งที่มีการนำน้ำมาใช้ในการอุปโภค บริโภค หรือใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีต้นทุนในการผลิตทั้งสิ้น ตลอดจนน้ำที่ผ่านการใช้งาน แล้วก็จะกลายเป็น “น้ำเสีย” และหากมีการจัดการหรือกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง ก็จะเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและธรรมชาติโดยรอบได้เช่นกัน

ดังนั้น การใช้ ระบบ Water Recycling หรือระบบบำบัดน้ำเสีย ที่เป็นการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยบรรเทาและคลี่คลายปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสีย ทั้งด้านต้นทุนในการผลิตน้ำดิบ ปัญหาขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ ตลอดจนลดการสร้างมลพิษทางน้ำที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมได้ด้วย แต่เทคโนโลยี Water Recycling คืออะไร มีกระบวนการทำงานบำบัดน้ำเสียได้อย่างไร ไปทำความรู้จักและเข้าในบทความนี้ได้เลย

 

ระบบบำบัดน้ำเสีย (Water Recycling) คืออะไร?

Water Recycling เป็นกระบวนการนำน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะจากกระบวนการผลิตของโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้น้ำกลับมาสู่สภาพที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีคุณภาพและคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการ

โดยเบื้องต้นมีประเภทของน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่าง ๆ ก่อนที่จะนำเข้ามาสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยแบ่งตามองค์ประกอบของสารหลักที่เจือปนอยู่ภายในน้ำได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้

 

1. น้ำเสียที่มีสารเคมี
มักจะเจือปนไปด้วยสารอนินทรีย์ที่มาจากการใช้น้ำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ ซึ่งมีสารประกอบที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง มีกลิ่นฉุน เป็นต้น

ในการตรวจสอบน้ำเสียที่มีสารเคมีจะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาความเน่าเสียของน้ำที่มีต้นเหตุจากสารเคมีต่าง ๆ ด้วยการวัดจากค่า Chemical Oxygen Demand หรือ COD ซึ่งเป็นการแสดงค่าของปริมาณออกซิเจนที่ถูกนำไปใช้ในการออกซิไดซ์ เพื่อให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำได้

 

2. น้ำเสียที่มีสารอินทรีย์
สำหรับน้ำที่มีการเน่าเสีย อันเกิดจากการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเสียจากการอุปโภค บริโภคที่ใช้กันตามบ้านเรือนทั่วไปที่ถูกปล่อยทิ้งลงสู่แแหล่งน้ำ หรือเป็นน้ำที่ถูกปล่อยออกจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ตลอดจนการทับถมกันของเศษพืช ใบไม้ต่าง ๆ ที่สะสมในน้ำด้วย จะมีหลักเกณฑ์ในการวัดโดยใช้ค่า Biochemical Oxygen Demand หรือ BOD เป็นค่าที่แสดงผลปริมาณของออกซิเจนที่เชื้อแบคทีเรียต้องการนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ

แม้ว่าน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ที่ถูกปล่อยจากบ้านเรือนทั่วไป รวมถึงเป็นการสะสมของสารที่ดูเป็นธรรมชาติ และดูมีอันตรายน้อยกว่าน้ำเสียที่มีสารเคมีสังเคราะห์เจือปน แต่ในกรณีที่น้ำเสียที่ทิ้งลงในแหล่งน้ำมีค่า BOD สูง ทำให้แบคทีเรียมีความต้องการออกซิเจนเพื่อไปย่อยสลายสารอินทรีย์มากขึ้น จนทำให้ออกซิเจนในแหล่งน้ำลดน้อยลง ก็จะส่งผลให้สัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำไม่สามารถอยู่ได้ในที่สุด

 

สอบถามข้อมูล

 

3. น้ำเสียที่มีสารแขวนลอย
เป็นน้ำเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีการใช้น้ำผสมสารเคมีเพื่อสกัดเอาชิ้นส่วนเฉพาะที่ต้องการจากวัสดุบางชนิด เช่น อุตสาหกรรมผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษ ที่ต้องการสกัดเอาเซลลูโลสจากต้นไม้ไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ และเติมสารเคมีมาเติมเพื่อทำแผ่นกระดาษ ทำให้น้ำเสียจากกระบวนการนี้มีเส้นใยละเอียดและสารต่าง ๆ เกิดเป็นสารแขวนลอยเจือปน หรือเป็นน้ำเสียที่เกิดในขั้นตอนการล้างฝุ่นเตาหลอมในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า เป็นต้น

โดยการตรวจสอบสารแขวนลอยในน้ำเสีย เป็นการหาปริมาณของของแข็งที่สามารถละลายในน้ำได้ จากค่า Total Dissolved Solid หรือ TDS โดยเริ่มจากนำน้ำเสียมาทำการกรองน้ำให้ไหลผ่านกระดาษกรองใยแก้วก่อน จากนั้นจึงนำน้ำที่ผ่านการกรองไปเข้าขั้นตอนการทำให้ระเหย และสุดท้ายก็จะเหลือสารแขวนลอยเป็นปริมาณที่วัดค่าได้

 

4. น้ำเสียที่มีโลหะหนักผสมอยู่
โดยปกติ โลหะหนักมักจะถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเคลือบโลหะ อุตสาหกรรมผลิตพลาสติก PVC ถ่านไฟฉาย สี หรือในด้านการเกษตรก็ใช้ในการผลิตยาฆ่าแมลง ปุ๋ย เป็นต้น และโลหะหนักนั้นจัดเป็นสารคงตัว ซึ่งจะไม่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้ ดังนั้นเมื่อเกิดน้ำทิ้งที่มีการเจือปนของโลหะหนักจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ ก็จะเกิดการสะสมเป็นดินตะกอนอยู่ในน้ำ และเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำด้วย

 

กระบวนการทำงานในระบบบำบัดน้ำเสีย

เบื้องต้นจะมีขั้นตอนในระบบบำบัดน้ำเสีย ให้กลับมาเป็นน้ำดีที่สามารถใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย แบ่งเป็น 2 รูปแบบดังนี้

1. ขั้นตอนระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้ได้น้ำสำหรับการใช้ประโยชน์ทั่วไป เช่น การนำกลับใช้เป็นน้ำในการซักล้าง ล้างรถ หรือน้ำสำหรับชักโครกในห้องน้ำ ฯลฯ โดยมีการทำงานในระบบบำบัดน้ำเสียคือ การนำน้ำเสียมาผ่านกระบวนการกรองเมมเบรน (Membrane) ประกอบด้วย ไมโครฟิลเตรชัน (Micro Filtration: MF) เพื่อกรองและขจัดสารแขวนลอย, อนุภาคละเอียด, จุลินทรีย์ และเชื้อไวรัสออกไปได้

 

2. ขั้นตอนฆ่าเชื้อโรคในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพและสะอาดขึ้นอีกขั้น จะมีการนำน้ำที่ผ่านการกรองเมมเบรนมาผ่านกระบวนการกรองด้วยรีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO), อัลตร้าฟิลเตรชัน (Ultra Filtration: UF), หรืออาจเสริมด้วยระบบฆ่าเชื้อโรคด้วย UV และ Ozone ได้ด้วย ซึ่งจะช่วยขจัดสิ่งตกค้างที่เป็นสารละลายในน้ำ เช่น เกลือ รวมถึงเชื้อโรคออกไป
และสุดท้าย จะเป็นการนำน้ำที่ผ่านกระบวนการ Water Recycling เรียบร้อยแล้ว ไปจัดเก็บในถังเก็บน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำไปใช้งานต่อไป

 

ประโยชน์ของการใช้งานระบบบำบัดน้ำเสีย (Water Recycling)

– ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้อน้ำดิบ เนื่องจากสามารถนำน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย มาใช้แทนได้ในกิจการหรืออุตสาหกรรม ทำให้ไม่ต้องซื้อน้ำดิบใหม่มาใช้ ตลอดจนช่วยลดการใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติด้วย
– ช่วยในการอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณของน้ำเสียที่จะต้องปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติให้น้อยลง
– ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรในทางที่ดี ทั้งในด้านของการมีความรับผิดชอบต่อสังคม และช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

 

ระบบบำบัดน้ำเสีย Biofil จากพรีเมียร์ โพรดักส์

มาร่วมเป็นอีกหนึ่งพลังในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า กับ ระบบบำบัดน้ำเสีย Biofil จาก บมจ. พรีเมียร์ โพรดักส์ สำหรับติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นกระบวนการ Water Recycling ที่ใช้เทคโนโลยีการบำบัดและกรองน้ำด้วยเมมเบรน แบบไมโครฟิลเตรชัน ซึ่งกรองได้ทั้งแบคทีเรีย โปรโตชัว และไวรัสที่มีขนาดมากกว่า 0.1 ไมครอน ผนวกกับกระบวนการทางชีวภาพ (Extended Activated Sludge) เลียนแบบการทำงานตามธรรมชาติ โดยจะใช้สิ่งมีชีวิตจำพวกจุลินทรีย์มาช่วยในการย่อยสลาย ดูดซับ และเปลี่ยนสารต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำเสียให้ลดความสกปรกลงได้

 

โดยน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย Biofil เรียบร้อยแล้วนั้น ได้รับการรับรองตามมาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการอุปโภคหรือใช้ในอุตสาหกรรมต่อได้ หรือจะนำไปบำบัดต่อด้วยระบบ RO, UV, หรือ Ozone เพื่อฆ่าเชื้อเพิ่มเติมได้โดยง่าย

 

ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้รวมอยู่ในระบบบำบัดน้ำเสีย Biofil อย่างครบครันแล้ว และไม่จำเป็นต้องใช้ถังตกตะกอนเพิ่ม ทำให้ลดขนาดพื้นที่ใชงาน รวมถึงลดต้นทุนในงานโครงสร้างด้วย ที่สำคัญ ตัวเครื่องผลิตด้วยวัสดุที่เป็นพลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้ว (FRP) ที่มีความแข็งแรง ทนทาน จึงทำให้การใช้งานยิ่งคุ้มค่า คุ้มราคาอย่างแน่นอน

 

นอกจากบริการด้านระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานและอุตสาหกรรมแล้ว บมจ. พรีเมียร์ โพรดักส์ ยังมีบริการออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบและตรวจระบบบำบัดน้ำเสียให้กับองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล ร้านอาหาร หอพัก ฯลฯ พร้อมจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ถังบำบัดน้ำเสีย และให้บริการโดยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะ

 

สนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าและบริการระบบบำบัดน้ำเสีย Water Recycling ได้ที่เว็บไซต์ www.premier-products.co.th

 

สอบถามข้อมูลหรือดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ : 
บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน)
โทร : 02-301-2223
E-Mail : sale@pp.premier.co.th
Line : @pp.wtprofessional
Website : https://www.premier-products.co.th/products/waste-water-treatment-tank/