02-301-2223 sale@pp.premier.co.th
PREMIER PRODUCTS PUBLIC COMPANY LIMITED
07/02/2022

(ไทย) มาตรฐานสำหรับถังเก็บสารเคมี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

(ไทย)

มาตรฐานสำหรับถังเก็บสารเคมี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

คู่มือและมาตรฐานสำหรับถังเก็บสารเคมี

มาตรฐานในการจัดเก็บสารเคมีในภาคอุตสาหกรรม และการจัดการด้านความปลอดภัยของสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ภายในถังเก็บสารเคมี เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีความจำเป็นจะต้องนำสารเคมีมาใช้เป็นวัตถุดิบ ตัวทำละลาย ตัวทำปฏิกิริยา หรือตัวเร่งปฏิกิริยา ควรจะต้องให้ความสำคัญและให้ความตระหนักในทุกขั้นตอนตั้งแต่การพิจารณาออกแบบ การสร้าง การติดตั้ง การใช้งาน การตรวจสอบความปลอดภัย ตลอดจนการบำรุงรักษาถังเก็บสารเคมี เพื่อความปลอดภัยในระหว่างการจัดเก็บสารเคมีก่อนการนำไปใช้งาน เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นการรั่วไหลหรือการแพร่กระจายของสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม

 

แม้ว่าในปัจจุบันนี้ประเทศไทยจะยังไม่ได้มีกฎหมาย ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นข้อกำหนดในการควบคุมมาตรฐานในการสร้างถังเก็บสารเคมีอย่างครอบคลุมและชัดเจนในทุก ๆ ด้าน แต่กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์และมาตรฐานในการสร้างถังเก็บสารเคมี ซึ่งอ้างอิงตามกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

 

มาตรฐานการออกแบบถังบรรจุสารเคมี

โดยทั่วไปแล้วการออกแบบถังเก็บสารเคมีจะมีการยึดตามมาตรฐาน API 650 : Welded Tanks for Oil Storage ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ถูกนำมาใช้งานเพื่อกำหนดรูปแบบในการออกแบบถังเก็บสารเคมีเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานเพื่อบรรจุสารเคมีที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปทั้งในด้านของสมบัติกายภาพ สมบัติทางเคมี สมบัติทางด้านสภาพแวดล้อม รวมไปถึงความเป็นอันตรายจากการออกฤทธิ์ของสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความไวไฟ การกัดกร่อน หรือความเป็นพิษ ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. ถังเก็บสารเคมีประเภทหลังคาไม่เคลื่อนที่ (Fixed roof tank)
    ถังเก็บสารเคมีประเภทหลังคาไม่เคลื่อนที่ เป็นถังเก็บสารเคมีที่ถูกออกแบบและผลิตขึ้นมาโดยมีลักษณะสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของผนังถังที่ลักษณะเป็นทรงกระบอก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนิยมผลิตขึ้นมาจากเหล็กเพื่อให้มีความแข็งแรงและทนทานต่อการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี และส่วนของหลังคาถังที่จะมีการยึดติดกับตัวถังแบบถาวร ซึ่งสามารถเลือกออกแบบรูปทรงได้อย่างหลากหลายทั้งแบบกรวย (Cone) และแบบโดม (Dome) เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อบรรจุสารเคมีที่มีค่าความดันแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่แล้วถังเก็บสารเคมีประเภทหลังคาไม่เคลื่อนที่จะนิยมนำมาใช้สำหรับจัดเก็บสารเคมีประเภทที่ไม่ได้มีสมบัติในการระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิแวดล้อมหรืออุณหภูมิห้อง อย่างเช่น น้ำมันหล่อลื่น และสารเคมีทั่วไป เป็นต้น
  2. ถังเก็บสารเคมีประเภทหลังคาเคลื่อนที่ (Floating roof tank)
    ถังเก็บสารเคมีประเภทหลังคาเคลื่อนที่เป็นถังเก็บสารเคมีที่ถูกแบบขึ้นมาให้ส่วนของหลังคาถังเก็บสารเคมีแยกออกจากตัวถัง เพื่อช่วยให้หลังคาสามารถเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงได้ตามระดับของของเหลวที่ถูกบรรจุอยู่ภายในถังเก็บสารเคมีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการสะสมของความดันไอจากสารเคมีในช่องว่างเหนือส่วนของของเหลวที่ถูกจัดเก็บเอาไว้ภายในตัวถัง และนอกจากนี้ถังเก็บสารเคมีประเภทหลังคาเคลื่อนที่ยังมักจะมีการติดตั้ง Rim seal อยู่ที่ตัวถังเก็บสารเคมีเพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียของสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ภายในถังเก็บสารเคมีจากการระเหย (Evaporation losses) ซึ่งจะสามารถช่วยลดการปนเปื้อนในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

มาตรฐานการสร้างถังบรรจุสารเคมี

สำหรับมาตรฐานในการสร้างถังบรรจุเคมีในประเทศนั้นยังไม่ได้มีการกำหนดขึ้นเป็นกฎหมาย ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน แต่ตามกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 มีการกำหนดไว้ว่า ในการสร้างถังเก็บของที่มีขนาดความจุตั้งแต่ 100 ลูกบาศก์เมตร เป็นต้นไป จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุม โดยผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องทำการยื่นเอกสารเพื่อทำการขออนุญาตก่อสร้างถังเก็บสารเคมีดังกล่าวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมได้ตั้งอยู่ และมีการสร้างถังเก็บบรรจุเคมีโดยยึดตามข้อปฏิบัติเกี่ยวกับถังเก็บสารเคมี ดังนี้

  • ถังเก็บสารเคมีที่สร้างขึ้นจะต้องมีความมั่นคง แข็งแรง เป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ และได้รับใบรับรองจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  • ถังเก็บบรรจุเคมีจะต้องได้รับการติดตั้งสายล่อฟ้า หรือสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเกิดฟ้าผ่า หรือการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อถังบรรจุเคมีได้
  • ต้องมีการสร้างเขื่อนหรือกำแพงคอนกรีตล้อมรอบถังเก็บสารเคมี โดยกำหนดให้เขื่อนหรือกำแพงคอนกรีตจะต้องมีพื้นที่ที่สามารถกักเก็บปริมาณของสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ภายในตัวถังบรรจุเคมีได้ทั้งหมด หรือเท่ากับปริมาตรของถังเก็บสารเคมีที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
  • ต้องมีการจัดเตรียมและติดตั้งวัสดุหรือเคมีภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการระงับหรือลดความรุนแรงของการแพร่กระจายของสารเคมีที่บรรจุอยู่ภายในตัวถังบรรจุเคมีได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม

 

นอกจากนี้การเลือกพื้นที่สำหรับก่อสร้างถังเก็บสารเคมียังควรเลือกให้ห่างจากแหล่งน้ำผิวดิน หรือแหล่งน้ำใช้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีและการเกิดมลพิษต่อแหล่งน้ำ และควรอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ถนน โรงเรียน และโรงพยาบาล เพื่อป้องกันอันตรายหากเกิดกรณีที่มีเหตุระเบิด เพลิงไหม้ หรือการรั่วไหลของสารเคมี รวมไปถึงยังควรอยู่ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ วัสดุที่ติดไฟได้ พื้นที่เก็บปุ๋ยหรือสารเคมีสำหรับใช้ในการเกษตร และพื้นที่เก็บขยะ เพื่อความปลอดภัยที่มากที่สุดในระหว่างการก่อสร้าง

 

สอบถามข้อมูล

 

มาตรฐานการติดตั้งและการใช้งานถังเก็บสารเคมี

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการติดตั้งและการจัดวางถังเก็บสารเคมี คือ การคำนึงถึงลักษณะของพื้นที่ในการติดตั้ง คุณสมบัติของสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ภายในถังบรรจุเคมี รวมไปถึงการจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟ และเส้นทางสำหรับรถดับเพลิงที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือในกรณีที่มีอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น โดยมาตรฐานการติดตั้งถังเก็บสารเคมี มีรายละเอียดดังนี้

  • มีการจัดวางผังในการติดตั้งถังเก็บสารเคมีแต่ละถัง รวมไปถึงมีการกำหนดจุดเติมหรือจุดปล่อยสารเคมี ระบบท่อ หรือปั๊มสูบสารเคมี อย่างชัดเจน
  • มีการจัดเตรียมและติดตั้งวัสดุหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการดับเพลิง หรือระงับความรุนแรงของการแพร่กระจายของสารเคมีที่บรรจุอยู่ภายในตัวถังบรรจุเคมีได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับประเภทของสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ภายในถังเก็บสารเคมี
  • มีการเว้นระยะพื้นที่ในการติดตั้งถังเก็บสารเคมีเพื่อให้รถดับเพลิงสามารถเข้ามาทำการฉีดสารดับเพลิงได้อย่างสะดวกอย่างน้อย 2 ด้าน และในกรณีที่มีการติดตั้งถังเก็บสารเคมีมากกว่า 1 ถัง จะต้องมีการเว้นพื้นที่เพื่อให้รถดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้ทุกถังเก็บสารเคมี
  • ในกรณีที่มีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ใช้สอย ซึ่งไม่สามารถเว้นที่เพื่อให้รถดับเพลิงเข้าถึงได้ โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการออกแบบและติดตั้งระบบดับเพลิงที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถระงับความรุนแรงของอุบัติเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที

 

และนอกจากนี้หลังจากที่มีการติดตั้งถังเก็บสารเคมีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการทำงานและอุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยที่เหมาะสมบนตัวถังบรรจุเคมี ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์วัดระดับของเหลว (Level device), อุปกรณ์สำหรับระบบระบายความดัน (Venting device), อุปกรณ์สำหรับป้องกันและระงับไฟไหม้ (Fire protection device), และอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า และการต่อลงดิน (Lightning and grounding system) เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการจัดเก็บสารเคมีก่อนการนำไปใช้งาน

 

มาตรฐานการตรวจสอบและการบํารุงรักษาถังเก็บสารเคมี

เพื่อการใช้งานถังเก็บสารเคมีได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด ผู้ประกอบกิจการโรงงานจึงจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยของถังเก็บสารเคมีทั้งก่อนและระหว่างการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถทำการตรวจสอบและบํารุงรักษาถังเก็บสารเคมีได้ตามมาตรฐาน API 650 : Welded Tanks for Oil Storage ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับใช้ในการตรวจสอบถังเก็บสารเคมีก่อนการใช้งาน และมาตรฐาน API 653 : Tank Inspection , Repair , Alteration , and Reconstruction ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับใช้ในการตรวจสอบถังเก็บสารเคมีในระหว่างการใช้งาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. การตรวจสอบความปลอดภัยของถังเก็บสารเคมีก่อนการใช้งาน
    สำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยของถังเก็บสารเคมีก่อนการใช้งานสามารถทำได้โดยการตรวจสอบความแข็งแรง พร้อมทำการสุ่มวัดความหนาของผนังถังเก็บสารเคมี ทดสอบอุปกรณ์นิรภัยที่ใช้ในการระบายความดัน ตรวจสอบค่าการทรุดตัวและความเอียงของตัวถัง รวมไปถึงทำการตรวจสอบดูว่าถังเก็บสารเคมีมีจุดบกพร่อง จุดรั่วซึม หรือมีรอยปริบวมใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ด้วยการใช้วิธีอัดน้ำเพื่อทดสอบความดัน (Hydrostatic test) เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง และตรวจสอบอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อุปกรณ์วัดระดับของเหลว อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ อุปกรณ์วัดความดัน เป็นต้น
  2. การตรวจสอบความปลอดภัยของถังเก็บสารเคมีระหว่างการใช้งาน
    ในการตรวจสอบความปลอดภัยของถังเก็บสารเคมีระหว่างการใช้งาน ควรทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ด้วยการตรวจสอบสภาพของถังเก็บสารเคมีด้วยสายตา (Visual inspection) โดยควรตรวจสอบถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในการติดตั้งถังบรรจุเคมีว่ามีความปลอดภัยดีหรือไม่ พร้อมตรวจสอบสภาพทั่วไปของตัวถังเก็บสารเคมีว่า มีรอยแตก รอยสนิม หรือเกิดการผุกร่อนหรือเปล่า นอกจากนี้ยังควรทำการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์อื่น ๆ ของถังเก็บสารเคมี อย่างเช่น อุปกรณ์แจ้งเตือนระดับของเหลว หรืออุปกรณ์นิรภัยระบายความดันต่าง ๆ ด้วยว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานหรือไม่ เพื่อการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

 

สำหรับลูกค้าท่านไหนที่มีความสนใจในและต้องการสั่งซื้อถังบรรจุเคมี หรือถังเก็บสารเคมีสามารถสอบถามข้อมูลหรือดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ บมจ.พรีเมียร์ โพรดักส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบบำบัดน้ำเสีย ถังบำบัดน้ำเสีย SATS ระบบสำรองน้ำ รวมไปถึงถังเก็บสารเคมี และถังบรรจุเคมึ คุณภาพ ที่ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย และได้มาตรฐานความแข็งแรงทนทานต่อสารเคมีตามมาตรฐานการทดสอบทางวิศวกรรมที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

  • การทดสอบแรงดันภายนอก ตามมาตรฐาน JIS A4101, ASTM D2412
  • การทดสอบแรงดึง ตามมาตรฐาน ASTM D638
  • การทดสอบแรงดัด ตามมาตรฐาน ASTM D790
  • ออกแบบโครงสร้างของตัวมาตรฐาน ASME RTP-1, BS 4994, ASTM D3299, JIS K7012

 

สอบถามข้อมูลหรือดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ : 
บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน)
โทร : 02-301-2223
E-Mail : sale@pp.premier.co.th
Line : @pp.wtprofessional
Website : https://www.premier-products.co.th/product/chemical-resist-tank/