02-301-2223 sale@pp.premier.co.th
PREMIER PRODUCTS PUBLIC COMPANY LIMITED
20/09/2024

เช็กข้อมูล “ค่าบำบัดน้ำเสีย” หลัง กทม.ประกาศเก็บค่าธรรมเนียมของระบบบำบัดน้ำเสีย

เช็กข้อมูล “ค่าบำบัดน้ำเสีย” หลัง กทม.ประกาศเก็บค่าธรรมเนียมของระบบบำบัดน้ำเสีย

แนวทางรับมือสำหรับเขตพื้นที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสีย หลังกรุงเทพมหานครออกประกาศเก็บค่าธรรมเนียม “บำบัดน้ำเสีย”

จากปีที่ผ่านมา ทางกรุงเทพมหานครไม่เคยมีการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย แต่มีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการถึงปีละ 800 ล้านบาท ในขณะที่ความสามารถในการบำบัดต่อวัน คือ 1.2 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจำนวนดังกล่าวยังไม่ครอบคลุม ทำไปได้เพียง 37% เท่านั้น* แต่หากเป็นประชาชนทั่วไปอาจเกิดคำถามว่าต้องเสียค่าธรรมเนียในการบำบัดน้ำเสียตรงนี้ด้วยหรือไม่ คำตอบคือไม่ต้องเสีย เพราะเป็นการเก็บจากผู้ประกอบการที่มีขนาดใหญ่

โดยมีหลักการคำนวณ จากน้ำดีที่ใช้ ประมาณ 80% โดยได้รับข้อมูลน้ำมาจากการประปานครหลวง นำมาตรวัดน้ำดีมาใช้เป็นไปตามหลักสากล โดยปี 2566 ทางกรุงเทพมหานครตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะจัดเก็บได้ประมาณ 200 ล้านบาท อีกทางหนึ่งคือเป็นการกระตุ้นให้คนใช้น้ำน้อยลงด้วย ทั้งหมดเป็นนโยบายที่คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ การประปานครหลวง โดยมีนายมานิต ปานเอม ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ร่วมลงนาม ในวันที่ 25 กันยายน 2566 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ กทม. * ซึ่งแนวโน้มทั้งการประปานครหลวงและทางกรุงเทพมหานครดูเหมือนว่าจะดำเนินการนโยบายนี้กับผู้ที่อาจมีส่วนทำให้เกิดมลภาวะ และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับการจัดการเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย อนาคตอาจมีความร่วมมือเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำเสียอื่นๆ เพิ่มเติมอีกเช่นกัน

 

การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 

น้ำประปากล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับคนกรุงเทพฯ โดยปัจจุบันมีข้อมูลว่ามีการใช้น้ำอยู่ประมาณ 2 ลบ.ม. ต่อวัน เมื่อใช้เสร็จจะกลายเป็นน้ำเสีย ทางภาคเอกชนบางส่วนได้ทำการบำบัดน้ำเสียเอง บางส่วนมีการส่งไปบำบัดรวมที่ส่วนกลาง หรือที่โรงบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ 8 แห่ง ซึ่งยังไม่มีการจ่ายค่าบำบัดด้วยเช่นกัน

โดยกรุงเทพฯ ได้ออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยที่ผ่านมาผู้แทนของกรุงเทพมหานครและการประปาได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

 

22 เขต นำร่องเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย
พื้นที่บริการ จัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียในพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ สี่พระยา รัตนโกสินทร์ ช่องนนทรี หนองแขม ทุ่งครุ ดินแดง จตุจักร และศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บางซื่อ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 22 เขตการปกครอง ได้แก่ เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา ดินแดง ราชเทวี พญาไท ปทุมวัน บางซื่อ จตุจักร ห้วยขวาง หลักสี่ หนองแขม บางแค ภาษีเจริญ ดุสิต ทุ่งครุ จอมทอง ราษฎร์บูรณะ และหลักสี่

จนผ่านมาในปี 2567 ปัจจุบันได้มีประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า กรุงเทพมหานครเลื่อนเก็บค่าบำบัดน้ำเสียไม่มีกำหนด พร้อมเดินหน้าปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ เพราะจากความคิดเห็นผู้ประกอบการหลายๆ ฝ่าย ทั้งโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ได้ขอให้มีการพิจารณาจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียให้สอดคล้องกับระบบที่สถานประกอบการนั้นๆ มีอยู่ เนื่องจากส่วนใหญ่มีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียไว้แล้ว

 

เช็คข้อมูล วิธีคำนวณ “ค่าบำบัดน้ำเสีย”

สำหรับแนวทางการคิดค่าบริการบำบัดน้ำเสีย คิดจากปริมาณน้ำเสียที่ร้อยละ 80 ของปริมาณการใช้น้ำประปา คูณด้วยอัตราค่าธรรมเนียมตามประเภทของแหล่งกำเนิดน้ำเสีย แบ่งประเภทและอัตรา ดังนี้

  1. แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2 อัตราไม่เกิน 4 บาท/ลูกบาศก์เมตร ได้แก่ (ก) หน่วยงานของรัฐหรืออาคารที่ทำการของเอกชนหรือองค์กร ระหว่างประเทศ (ข) มูลนิธิ ศาสนสถาน สถานสาธารณกุศล (ค) โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล (ง) โรงเรียนหรือสถานศึกษา (จ) สถานประกอบการ ที่มีการใช้น้ำเฉลี่ยย้อนหลังหนึ่งปีก่อนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน
  2. แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 3 อัตราไม่เกิน 8 บาท/ลูกบาศก์เมตร ได้แก่ (ก) โรงแรม (ข) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (ค) สถานประกอบการ ที่มีการใช้น้ำเฉลี่ยย้อนหลังหนึ่งปีก่อนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย เกินกว่า 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ในส่วนบ้านเรือนทั่วไป กทม.ยังไม่มีแผนจัดเก็บ

 

ผู้ประกอบการขนาดใหญ่เตรียมตัวรับมืออย่างไร? 

ผู้ประกอบการขนาดใหญ่บางแห่งอาจมีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียของสถานประกอบการบ้างแล้ว แต่บางแห่งยังไม่มีการวางระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ ที่ต้องมีถังเก็บน้ำโรงงาน หรือถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ไว้พักก่อนบำบัดน้ำเสีย ทั้งหมดต้องมีการวางระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำพอสมควร ถือเป็นสิ่งแรกที่ควรทำ ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และคำนวณต่างๆ เพื่อให้ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่ดี และได้มาตรฐาน ลดการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวและยังทำให้ได้ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าที่สุดด้วย

  • คำนวณปริมาณน้ำเสียต่อวันให้ชัด
  • ตรวจสอบคุณภาพน้ำเสีย ว่ามีความเป็นกรด-ด่าง หรือค่าอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน
  • จัดการพื้นที่ในระบบบำบัดน้ำเสียให้คุ้มค่า เช่น ส่วนไหนจำเป็นต้องลงใต้ดินเพื่อประหยัดพื้นที่ หรือให้น้ำไหลสู่ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ได้เร็ว

 

ระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ควรเลือกบริษัทที่ชำนาญการในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียรวมถึงมีถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำโรงงาน สามารถติดตั้ง ดูแล ตรวจสอบตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมีอุปกรณ์ที่ครบวงจรออกแบบปรับปรุงระบบน้ำเสียให้ด้วย อย่างบริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) ออกแบบและติดตั้ง รวมถึงทดสอบ ตรวจระบบบำบัดน้ำเสียโรงงาน และอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่นระบบบำบัดน้ำเสีย สำหรับร้านอาหาร หอพัก โรงงานขนาดเล็ก ไปจนถึงระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ โรงพยาบาล ดำเนินงานโดยทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบสำรองน้ำ อาทิ ถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำ ถังแซท (SAT) ถังเก็บน้ำโรงงาน ทั้งบริการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ตรวจสอบ ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ถังบำบัดน้ำเสีย มากกว่า 45 ปี เพื่อการเป็นผู้นำด้าน Water Solutions แบบครบวงจร

 

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ที่อยู่: บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 2 พรีเมียร์เพลซ ซอยพรีเมียร์ 2 ถนนศรีนครินทร์แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม 10250
โทร : 02-301-2223
E-Mail : sale@pp.premier.co.th
Line : @pp.wtprofessional
Website : https://www.premier-products.co.th