02-301-2223 sale@pp.premier.co.th
PREMIER PRODUCTS PUBLIC COMPANY LIMITED
26/01/2024

ถังเก็บเคมีขนาดใหญ่รุ่นไหนเหมาะสมกับโรงงานของคุณ

ถังเก็บเคมีขนาดใหญ่รุ่นไหนเหมาะสมกับโรงงานของคุณ

ลักษณะที่ดีของถังเก็บเคมี ควรเป็นอย่างไร

ถังเก็บเคมี เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กักเก็บสารเคมีต่างๆ ในภาคพื้นอุตสาหกรรมและในธุรกิจขนาดย่อย ซึ่งเป็นถังที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือ เม็ดพลาสติก HDPE จึงทำให้ถังเก็บเคมี มีความแข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการผลิตถังเก็บเคมีออกมาหลายรุ่น แต่ละรุ่นก็ใช้วัสดุในการผลิตที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทของสารเคมีที่ต้องการกักเก็บ

โดยทั่วไปแล้ว การออกแบบถังเก็บเคมีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ถังที่ใช้เก็บสารเคมที่เป็นอันตราย มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่าง มีพิษ หรือเป็นวัตถุไวไฟ และประเภทที่ 2 คือ ใช้กักเก็บสารเคมีทั่วไปอย่างน้ำมัน แก๊ส หรือน้ำ เป็นต้น แต่ถังเก็บเคมีทั้งสองประเภทนี้ต่างก็มีคุณสมบัติในการกักเก็บสารเคมีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีขนาดให้เลือกที่แตกต่างกันออกไป ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถบรรจุได้ถึง 1,000 ลิตรเลยทีเดียว

 

ถังเก็บเคมีขนาดใหญ่รุ่นไหนเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรม

สำหรับถังเก็บเคมีที่ถูกออกแบบให้ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะต้องมีมาตรฐานในการออกแบบอย่างดีที่สุด ซึ่งจะยึดตามมาตรฐาน API 650 : Welded Tanks for Oil Storage เพื่อให้การกักเก็บสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อบุคลากรในโรงงาน ซึ่งถังเก็บเคมีขนาดใหญ่ที่เหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. Fixed roof tank หรือถังเก็บเคมีประเภทหลังคาไม่เคลื่อนที่
    Fixed roof tank หรือถังเก็บเคมีประเภทหลังคาไม่เคลื่อนที่ เป็นถังเก็บสารเคมีที่ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนของตัวถังขนาดใหญ่ที่เป็นทรงกระบอก มีความหนาแน่นและแข็งแรง และอีกส่วนคือส่วนของหลังคาที่มีลักษณะที่สามารถยึดติดกับตัวถังได้อย่างถาวร สำหรับถังเก็บเคมีประเภทหลังคาไม่เคลื่อนที่ นอกจากจะสามารถออกแบบให้เป็นทรงกระบอกได้แล้ว ยังสามารถออกแบบให้เป็นรูปทรงอื่นๆ ได้ ขึ้นกับประเภทของสารเคมีและความดันที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวถังแบบกรวยหรือแบบโดม เป็นต้น ส่วนมากแล้วถังเก็บเคมีประเภทหลังคาไม่เคลื่อนที่จะใช้กักเก็บสารเคมีประเภทน้ำมันหรือน้ำมันหล่อลื่น เพราะมีคุณสมบัติที่ไม่สามารถระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิห้อง
  2. Floating roof tank หรือ ถังเก็บเคมีประเภทหลังคาเคลื่อนที่
    Floating roof tank หรือ ถังเก็บเคมีประเภทหลังคาเคลื่อนที่ เป็นถังเก็บสารเคมีมีการออกแบบบให้ตัวถังและหลังคานั้นสามารถแยกออกจากกันได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนตัวตามระดับของของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในตัวถัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งถังเก็บเคมีที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายจากการสะสมตัวของความดันชองของเหลวหรือแก๊สที่อาจจะปะทุขึ้นมาได้ โดยเป็นการระเหยของสารเคมีที่อยู่ภายในนั่นเอง และอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ถังเก็บเคมีประเภทหลังคาเคลื่อนที่หรือ Floating roof tank ได้รับความนิยมในภาคพื้นอุตสาหกรรมนั่นก็คือ เป็นถังที่ได้มีการติดตั้ง Rim seal ที่ตัวถังไว้ด้วย ซึ่งตัว Rim seal มีคุณสมบัติในการลดการปนเปื้อนในอากาศ อีกทั้งยังป้องกันการระเหยของสารเคมีที่บรรจุอยู่ในตัวถังอีกด้วย

การเลือกใช้ถังเก็บสารเคมีขนาดใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของสารเคมีที่จะถูกเก็บ, ปริมาณของสารเคมี, การจัดเก็บและการดูแลรักษา, และความเหมาะสมกับโครงสร้างและสภาพแวดล้อมที่กำลังใช้งานอยู่

 

ลักษณะทั่วไปของถังเก็บเคมี มีแบบไหนบ้าง และแบบไหนใช้งานดีที่สุด

โดยทั่วไปแล้วถังเก็บเคมี มักจะผลิตจากถังที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) หรือ เม็ดพลาสติก HDPE แต่ในภาคพื้นอุตสาหกรรมนั้นสามารถเลือกใช้งานถังเก็บเคมีประเภทต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยวัสดุที่ใช้ผลิตถังเก็บเคมี มีอยู่ด้วย 4 ประเภท คือ

  1. ถังพลาสติก
    ซึ่งเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดโดยผลิตจากเม็ดพลาสติก HDPE,LDPE, และ XLPE เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน มีน้ำหนักเบา ทนต่อการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีราคาที่ย่อมเยา
  2. ถังไฟเบอร์กลาส
    คุณสมบัติของไฟเบอร์กลาสนั้นมีประโยชน์อย่างหลากหลาย ซึ่งมีความทนทานต่อการกัดกร่อน ทนต่อความร้อน มีน้ำหนักเบา แต่แข็งแรงทนทาน และที่สำคัญคือยังไม่ก่อให้เกิดสนิมง่ายอีกด้วย
  3. ถังคอนกรีต
    ในอดีต ถังเก็บเคมีคอนกรีตได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัจจุบันมีวัสดุชนิดอื่นเข้ามาแทนที่และสามารถใช้งานได้ดีกว่า อีกทั้งคอนกรีตยังมีน้ำหนักมาก จึงได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน
  4. ถังโลหะ
    เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากสแตนเลส ซึ่งทนต่อแรงกระแทก แต่อาจจะไม่ทนทานต่อสารเคมีบางชนิดซึ่งอาจจะกัดกร่อนถังเก็บเคมีได้

 

อย่างไรก็ตาม การเลือกถังเก็บเคมีให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรพิจารณาจากสารเคมีที่ต้องการบรรจุจึงจะดีที่สุดเพื่อให้เหมาะสมกับโรงงานของคุณและตอบโจทย์ต่อการใช้งานมากที่สุด เพื่อให้ถังเก็บเคมีไม่ถูกกัดกร่อน แข็งแรงทนทาน มีระบบป้องกันต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น ระบบป้องกันฟ้าผ่า เลือกถังเก็บเคมีที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม อย่างที่ บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายถังบรรจุสารเคมี ถังเก็บเคมี ที่ทำจากวัสดุไฟเบอร์กลาส(FRP: Fiberglass Reinforced Plastic) ผลิตจากไฟเบอร์กลาสสำหรับบรรจุสารเคมีต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม โดยวัสดุไฟเบอร์กลาสที่ใช้สำหรับผลิตถังบรรจุสารเคมี มีคุณสมบัติเด่นคือมีความแข็งแรง ทนทาน สามารถทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ได้เป็นอย่างดี และผลิตจากเมล็ดพลาสติกเกรดมาตรฐาน ที่ผ่านการทดสอบแรงดันภายนอก ตามมาตรฐาน JIS A4101, ASTM D2412

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ หนึ่งในผู้นำในธุรกิจกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อสิ่งแวดล้อมด้านระบบบำบัดน้ำเสียและระบบสำรองน้ำ และเป็นหนึ่งในผู้นำการผลิตและจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับ

 

สนใจถังเก็บเคมีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ถังไฟเบอร์กลาสกักเก็บสารเคมี ขนาดใหญ่ ติดต่อได้ที่

บมจ.พรีเมียร์ โพรดักส์ (สำนักงานใหญ่) เลขที่ 2 พรีเมียร์เพลซ ซอยพรีเมียร์ 2 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250 
โทร : 02-301-2257
E-Mail : sale@pp.premier.co.th
Line : @pp.wtprofessional
Website : https://www.premier-products.co.th